มุทิตาจิต คุณครูรัตนาภรณ์ หลีจินตะ
มุทิตาจิต คณะกรรมการสถานศึกษาร่วมกับ ผู้บริหาร โรงเรียน […]
มุทิตาจิต คณะกรรมการสถานศึกษาร่วมกับ ผู้บริหาร โรงเรียน […]
เดินพาเหรด กีฬาต้านยาเสพติด ครั้งที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัด […]
ลูกเสือ ต้านภัยยาเสพติด เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563 […]
เตรียมความพร้อม ก่อนเปิดภาคเรียน โรงเรียนชุมชนวัดรางบัว […]
เข้าค่ายลูกเสือ สามัญปีการศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดรางบัว […]
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนชุมชนวัดรางบัว(แหลมราษฎร์บำรุง) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ซึ่งมีนายอยู่ ศรีโยธิน ปลัดอำเภอจอมบึง เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง โดยใช้ศาลาวัดรางบัวเป็นสถานที่เรียนในช่วงแรก และในปี พ.ศ. 2498 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน โดยพระครูแหลม กิตติสาโร เจ้าอาวาสวัดรางบัว พร้อมด้วยประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันก่อสร้าง ในพื้นที่บริเวณที่ดินทิศตะวันตกของวัดรางบัวในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ได้มีการขออนุญาตจังหวัดเปิดเรียนชั้นประถมปลาย ในปี พ.ศ. 2534 เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนชนบทอยู่ห่างจากตัวอำเภอ นอกเขตเทศบาลมีประชากรประมาณ 1,900 คน ในบริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่ วัดรางบัว ศูนย์ทอผ้าตีนจก สถานที่ประกอบการอุตสาหกรรมต่าง ๆ สถานีอนามัยรางบัว สถานีตำรวจตำบลรางบัว เป็นต้น
อาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรม เนื่องจากพื้นที่ีส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีและศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ การทอผ้าตีนจก เป็นต้น
จากการสำรวจกลุ่มผู้ปกครองส่วนใหญ่ จะจบการศึกษาแค่ระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งมีอาชีพหลัก คือ ทำการเกษตรกรรม และมีฐานะยากจน นักเรียนส่วนหนึ่งจึงมีปัญหาเรื่องครอบครัวแตกแยก ซึ่งทางโรงเรียนมีการจัดการแก้ไขปัญหานี้ต่อไปอีกด้วย
วิสัยทัศน์
“มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ เป็นคนดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ควบคู่คุณธรรมน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์ทอผ้าตีนจก บริหารร่วมสร้างสรรค์ สัมพันธ์ชุมชน”
ปรัชญาโรงเรียน
คุณธรรม นำความรู้ เชิดชูความเป็นไทย
พันธกิจ
1. พัฒนาด้านความรู้ความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร
2. พัฒนาด้านการเรียนการสอน
3. พัฒนาด้านความถนัดและความสามารถของนักเรียน
4. พัฒนาด้านสุขภาพและอนามัยนักเรียน
5. พัฒนาระบบการดูแลและการช่วยเหลือนักเรียน
6. พัฒนาด้านอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
7. พัฒนาด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนระดับปฐมวัย
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านความรู้ความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านการเรียนการสอน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านความถนัดและความสามารถของนักเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านสุขภาพและอนามัยนักเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการดูแลและการช่วยเหลือนักเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนระดับปฐมวัย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านความรู้ความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ บุคลากร ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์ ดังนี้
1.1 จัดระบบการนิเทศภายใน
1.2 พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์ ดังนี้
2.1 พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
2.2 เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.3 สร้างวินัยและคุณธรรมนักเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านความถนัดและความสามารถ ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์ ดังนี้
3.1 ส่งเสริมความสามารถด้านกีฬา และศิลปะ
3.2 การพัฒนาความสามารถด้านอาชีพ
3.3 การพัฒนาความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาสุขภาพและอนามัยนักเรียน ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์ ดังนี้
4.1 พัฒนาการจัดการด้านโภชนาการของนักเรียน
4.2 ส่งเสริมระบบการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการดูแล และการช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา/กลยุทธ์ ดังนี้
5.1 พัฒนาระบบข้อมูลนักเรียน
5.2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านอาคารสถานที่ และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์ ดังนี้
6.1 การปรับปรุงอาคารเรียน อาคารประกอบ
6.2 การสร้างแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนระดับปฐมวัย ประกอบด้วย แนวทางพัฒนา/กลยุทธ์ ดังนี้
7.1 สนับสนุนการจัดเตรียมความพร้อมนักเรียนด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
7.2 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
เป้าหมายการพัฒนา
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ร้อยละ 3
2. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีความสามารถโดดเด่นด้านกีฬา และคอมพิวเตอร์
3. นักเรียนใช้ชีวิตแบบพอเพียง และสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น
4. นักเรียนเป็นคนดี มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
“นักเรียนเป็นคนดี มีความสามารถ ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข”
จุดเน้น จุดเด่น ที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
สถานศึกษาโดยผู้บริหาร ครู บุคลากร ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดจุดเน้น จุดเด่น
ที่ส่งผลสะท้อนของสถานศึกษา คือ การทอผ้าตีนจก โดยคณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534
และ กีฬา โดยคณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
การดำเนินงานสถานศึกษาได้จัดสอนทอผ้าตีนจกเพื่อต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการเปิด
เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนใน ชั้น ป.4 – ป.6 และเป็นวิชาเพิ่มเติม ชั้น ม.1 – ม.2 ได้ใช้วิทยากรภายในท้องถิ่นร่วมกับครู
ส่วนกิจกรรมกีฬา ซึ่งได้เห็นว่านักเรียนมีศักยภาพด้านกีฬา ได้ดำเนินการโดยจัดสอนเป็นชุมนุม ให้นักเรียนเลือกตาม
ความถนัด พร้อมทั้งเชิญวิทยากรที่มีความชำนาญแต่ละประเภทกีฬามาให้ความรู้นักเรียน ผลการดำเนินการการทอผ้าตีนจก ผู้เรียนสามารถทอผ้าตีนจกได้ และนำไปใช้ตกแต่งเสื้อผ้า มีรายได้ ระหว่างเรียน
ด้านกีฬา ผู้เรียนมีทักษะในการเล่นกีฬาเป็นอย่างดี ผลความสำเร็จกีฬา คือ ชนะเลิศการแข่งขันกีฬา
ประเภทต่าง ๆ เป็นตัวแทนของเขตและของจังหวัด และนักเรียนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อย 1 ประเภท
รางวัล / เกียรติยศ ของนักเรียน
ชนะเลิศฟุตบอลนักเรียนอายุ 12 ปี จังหวัดราชบุรี ปี 2551 ตัวแทนราชบุรี ระดับภาคกลาง
ชนะเลิศฟุตบอลหญิง อายุ 18 ปี จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2552 ตัวแทนราชบุรี แข่งภาคกลางปี พ.ศ. 2553
ชนะเลิศมาราธอน บุคคลชาย อายุไม่เกิน 18 ปี (เด็กชายพเยาว์ จ้อยประเสริฐ)
ชนะเลิศมาราธอน บุคคลหญิง อายุไม่เกิน 18 ปี (เด็กหญิงอรุณี ถ้ำแก้ว)
ชนะเลิศเหรียญทอง “งานศิลปะหัตกรรมภาคกลาง” งานประดิษฐ์ปั้นลอยตัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 2553
ชนะเลิศวอลเลย์บอลหญิงอายุ 14 ปี “ราชบุรีคัพ” ชมรมจังหวัดราชบุรี ปี 2554
เหรียญทองเดาะวอลเลย์บอล 3 คน มัธยมชาย ตัวแทนจังหวัดราชบุรี ปี 2553
เหรียญทองเดาะวอลเลย์บอล 3 คน ประถมหญิง ตัวแทนจังหวัดราชบุรี ปี 2553
เซปัคตะกร้อ ตัวแทนราชบุรี ระดับภาคกลาง ปี 2552 (จังหวัดปราจีนบุรี) ปี 2553 (จังหวัดนครปฐม)
วอลเลย์บอล ตัวแทนราชบุรี ภาคกลาง (อยุธยา) 2553
10. ชนะเลิศ เดาะตะกร้อหญิง ภาคกลาง (จังหวัดสุพรรณบุรี) เหรียญทอง เด็กหญิงปนัดดา บางท่าไม้ 2552
11. ชนะเลิศเหรียญทอง เดาะฟุตบอล ประถมชายประถมศึกษา (สุพรรณบุรี)เด็กชายรัตนพงศ์ พึ่งพา
12. ชนะเลิศเหรียญทอง เดาะตะกร้อชาย จังหวัดราชบุรี เด็กชายชาย วงศ์ทอง
13. รางวัลชนะเลิศการวิ่งแข่งขันมินิมาราธอน ประเภทบุคคลชายอายุไม่เกิน 18 ปี
รับถ้วยประทานพระเจ้าหลานเธอสิริภาจุฑาภรณ์
14. รางวัลชนะเลิศการวิ่งแข่งขันมินิมาราธอนประเภทบุคคลหญิงอายุไม่เกิน 18 ปี
รับถ้วยประทานพระเจ้าหลานเธออาทิตยาทรกิตติคุณ
รางวัล/เกียรติยศของโรงเรียน
– โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2551
– โรงเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง
รางวัล/เกียรติยศของครู
– นางรัตนาภรณ์ หลีจินตะ ครูดีในดวงใจ
– นางนาฏยา เทียมแพ ครูดีในดวงใจ
– นางนาฏยา เทียมแพ ครูดีของท้องถิ่น
– นางปภพพร นัยยปริวัตร ครูดีเด่น
– นางยุพิน สุขพานิช ครูดีเด่น
– นางสาวญาณี เพ่งไพฑูรย์ ครูดีเด่น